การครอบฟัน (Dental Crowns)
การครอบฟันคืออะไร
การครอบฟัน หรือ Dental Crown นั้น คือการครอบวัสดุ ที่มีรูปร่าง ขนาด และสี เหมือนกับฟัน ลงไปลนฟัน เพื่อที่จะปกปิด รูปร่าง ขนาด และความยาวของฟัน ที่ผิดปกติ หรือไม่สวยงาม เพื่อให้ฟันดูสวยงามยิ่งขึ้น โดยวัสดุที่ครอบลงไปนั้น จะปกปิดฟันทั้งหมด และติดอยู่กับแนวเหงือก
ทำไมจึงต้องครอบฟัน
โดยปกติแล้ว ทันแพทย์จะแนะนำให้มีการครอบฟัน ในกรณีต่อไปนี้
- เพื่อปกป้องฟันที่ไม่แข็งแรง เช่นฟันที่ผุ ฟันแตก หัก หรือเพื่อยึดส่วนของฟันที่แตกบิ่นเข้าด้วยกัน
- เพื่อซ่อมแซมฟันที่ได้แตก หรือหักไปแล้ว
- เพื่อช่วยปกปิด และรองรับการใช้งาน ให้ฟันแข็งแรงขึ้น สำหรับกรณีที่ฟันผุ และต้องกรอเนื้อฟันออกไปในบริเวณกว้าง
- เพื่อเป็นจุดยึดเกาะสำหรับการทำสะพานฟัน
- เพื่อแก้ไขปัญหาฟันผิดรูปผิดร่าง หรือสีของฟันไม่ปกติ
- เพื่อครอบฟันที่ได้รับการปลูกถ่ายรากเทียม
- เพื่อความสวยงาม
- สำหรับเด็กที่มีปัญหาฟันน้ำนมผุ รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาเรื่องของการดูแลสุขภาพในช่องปาก เนื่องจากทั้งพฤติกรรม และการรับการรักษาโรคบางชนิด ซึ่งในกรณีของเด็กนี้ ทันตแพทย์ จะแนะนำให้ครอบฟันด้วยสแตนเลส
วัสดุที่นำมาใช้ครอบฟันมีกี่ชนิด
เนื่องจากการครอบฟันนั้น เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาฟันแบบถาวร วัสดุที่นำมาใช้ในการครอบ จึงมีหลายชนิด ทั้งสแตนเลส โลหะ ทอง อัลลอยด์ ฟอร์เซลีนผสมโลหะ เรซิน และเซรามิค ซึ่งจะมีความแตกต่างกันดังนี้
- สแตนเลส เป็นวัสดุที่มักจะนำมาใช้ในการครอบฟันน้ำนมให้เด็ก มีความแข็งแรง และราคาไม่แพง สามารถป้องกันฟันผุได้ เป็นการครอบเพื่อรอฟันแท้ที่จะชึ้นมาใหม่ การครอบด้วยวัสดุชนิดนี้ ง่าย ไม่ต้องมาพบทันตแพทย์หลายครั้ง แต่มีข้อเสียคือมีสีเข้ม ครอบเข้าไปแล้วเห็นได้ชัดเจน ไม่เป็นธรรมชาติ
- โลหะ ที่นำมาใช้ครอบฟัน มีทั้งทองคำ อัลลอยด์ นิเกิล โคเมียม การใช้วัสดุพวกนี้ ไม่ต้องมีการกรอผิวฟันออกมากนัก และยังมีความทนทาน ไม่บิ่น หรือแตกหักง่าย แต่มีข้อเสีย คือเรื่องของสีโลหะ ที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ วัสดุชนิดนี้ จึงนิยมนำมาใช้ในการครอบฟันด้านในมากกว่า
- พอร์ซเลน ผสมโลหะ วัสดุชนิดนี้ จะให้สีที่เหมือนกับฟันธรรมชาติ โดยจะเคลือบอยู่ภายนอก ส่วนภายในจะเป็นโลหะ แต่ตัววัสดุที่เป็นพอร์ซเลนนั้น จะไม่ค่อยแข็งแรง อาจจะมีการบิน หรือแตก นอกจากนั้น เมื่อใช้ไปนาน ๆ สีของโลหะที่อยู่ด้านล่างอาจจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นเส้นดำ ๆ ได้ โดยเฉพาะส่วนที่ติดอยู่กับแนวเหงือก หากในอนาคต เหงือกร่น ก็จะเห็นได้ชัด
- เรซิน เป็นวัสดุที่มีราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับวัสดุที่นำมาใช้ในการครอบฟันแบบอื่น ๆ แต่สีของวัสดุอาจจะเปลี่ยนแปลงหมองลงได้ เมื่อใช้ไปนาน ๆ
- เซรามิค หรือพอร์ซเลน เป็นวัสดุที่ให้สีเหมือนธรรมชาติมากที่สุด เหมาะสำหรับการนำมาใช้ครอบฟันด้านหน้า แต่วัสดุชนิดนี้ ไม่แข็งแรงทนทานเมื่อเทียบกับพอร์ซเลนผสมโลหะ
ขั้นตอนในการครอบฟัน
ขั้นตอนในการครอบฟัน จะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ซึ่งโดยมาแล้ว จะต้องมาพบทันตแพทย์ 2 ครั้ง
- พบทันตแพทย์ครั้งแรก จะเป็นการเตรียมครอบฟัน มีการ X-ray เพื่อดูรากของฟันที่จะครอบ และกระดูกโดยรอบ ตรวจเช็คฟันผุ การติดเชื้อ เนื้อเยื่อเหงือก จากนั้นจะมีการกรอฟัน เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการครอบ ในขั้นนี้ จะต้องมีการกรอเนื้อฟันออกไปมากแค่ไหนนั้น จะขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ในการครอบฟันด้วย หากเป็นโลหะ วัสดุมีความบาง จึงไม่ต้องกรอฟันออกมาก แต่ถ้าเป็นพอร์ซเลน วัสดุมีความหนามากกว่าโลหะ จึงต้องกรอเนื้อฟันออกมากกว่า เมื่อกรอฟันแล้ว ทันตแพทย์จะพิมพ์ฟัน ทั้งฟันล่าง และฟันบน เพื่อส่งเข้าห้องแลป และผลิตตัวครอบฟันออกมา ขั้นตอนการผลิตจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งในระหว่างรอ ทันตแพทย์ จะใส่ครอบฟันชั่วคราวให้
- พบทันตแพทย์ครั้งที่สอง เมื่อได้ครอบฟันมาแล้ว ทันตแพทย์ จะนำครอบฟันชั่วคราวออก และใส่ครอบฟันถาวรลงไปแทน พร้อมทั้งตรวจเช็คความพอดีและสีของฟันให้เหมาะสม ตรวจเช็คการกัด และแนะนำวิธีการดูแลรักษา และการใช้งาน รวมทั้งอาจจะมีการนัดหมาย เพื่อติดตามผลการรักษาด้วย
ปัญหาที่อาจพบหลังการครอบฟัน
หลังจากที่ได้ครอบฟันถาวรไปแล้ว คนไข้บางรายอาจพบปัญหาดังนี้
- รู้สึกไม่สบาย หรือมีอาหารเสียวฟัน กรณีนี้ อาจเกิดขึ้นได้ เพระฟันจะไวต่อความรู้สึกมากขึ้น สามารถดูแลเบื้องต้นได้ด้วยการใช้ยาสีฟันที่ลดอาการเสียวฟัน แต่ถ้าหากมีอาหารเจ็บ ปวด หรือเสียวฟัน ในตอนกัดหรือเคี้ยว อาจเป็นเพราะฟันที่ครอบนั้นสูงเกินไป ต้องกลับมาให้ทันตแพทย์แก้ไข
- ครอบฟันแตก หรือบิ่น ส่วนมากจะเกิดกับวัสดุครอบฟันพวกพอร์ซเลน ซึ่งต้องกลับมาให้ทันตแพทย์ช่วยแก้ไขเช่นกัน
- ครอบฟันหลวม บางครั้งหากครอบฟันไม่พอดีกับฟันที่เตรียมไว้ ก็อาจมีปัญหาครอบฟันหลวม ซึ่งอาจเกิอปัญหาแบคทีเรียหลุดเข้าไปด้านใน ทำให้ฟันผุได้อีก จึงต้องติดต่อทันตแพทย์ทันที
- ครอบฟันหลุด เกิดจากความไม่พอดีเช่นกัน และอาจจะมีการใช้ซีเมนส์เพื่อยึดติดน้อยเกินไป ทำให้ครอบฟันหลุดออกมาได้ หากเกิดปัญหานี้ ให้รีบทำความสะอาด และนำกลับมาพบทันตแพย์โดยเร็ว
- เกิดอาการแพ้ โลหะบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะพวกโลหะผสม
อายุการใช้งานของครอบฟัน
โดยเฉลี่ยแล้ว ครอบฟัน จะมีอายุการใช้งานในระหว่าง 5-15 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลและการใช้งาน หากมีการดูแลความสะอาดอย่างเหมาะสม และมีพฤติกรรมในการเคี้ยว การกัด ที่ดี คือไม่เคี้ยวน้ำแข็ง ไม่กัดเล็บ กัดฟัน ครอบฟันก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ได้เป็นเวลานาน
การดูแลหลังการครอบฟัน
การครอบฟัน ไม่ต้องการการดูแลพิเศษแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ ต้องทราบอย่างหนึ่งว่า ฟันที่ถูกครอบ ก็อาจจะเกิดปัญหาฟันผุ หรือมีปัญหาโรคเหงือกได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรรักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากเป็นประจำ และควรเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็คเป็นประจำทุก 6 เดือน